ประเภทอุปกรณ์ช่วยยกและความเข้าใจทั่วไป
04/08/2020 15:54:37
อุปกรณ์ช่วยยกในงานเครนและรอกที่ใช้ยกของแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
- อุปกรณ์แบบมาตรฐาน (Standard Lifting Equipment)
- อุปกรณ์ที่สร้างขึ้นตามความเหมาะสมใช้งาน (Non-Standard Lifting Equipment)
1. อุปกรณ์ช่วยยกแบบมาตรฐาน (Standard Lifting Equipment)
อุปกรณ์ช่วยยกแบบมาตรฐาน คือ อุปกรณ์ช่วยยกที่มีกระบวนการสร้างขึ้นตามข้อกำหนดของมาตรฐานสากล ซึ่งผู้ผลิตจะเลือกใช้มาตรฐานใดที่โลกยอมรับก็ได้ ตัวอย่างอุปกรณ์ช่วยยกแบบมาตรฐาน เช่น
- ลวดสลิง (Steel Wire Rope)
- สลิงเส้นใยสังเคราะห์ หรือ สายพานยกของ (Polyester Sling)
- ชุดสลิงยก (Wire Rope Slings)
- โซ่เหล็ก (Steel Chain)
- ชุดโซ่ยก (Lifting Chain Slings)
- ตะขอยก (Hooks)
- สเก็น (Shackle) แบบตัวดี และ แบบโอเมก้า D shackle, Anchor shackle
- มาสเตอร์ลิงค์ (Master Link)
- เครื่องเหล็กอื่นๆ (Rigging Hardware)
2. อุปกรณ์ที่สร้างขึ้นตามความเหมาะสมใช้งาน
ด้วยอุปกรณ์ช่วยยกแบบมาตรฐานอาจมีข้อจำกัด ไม่ได้เหมาะสมหรือไม่ได้สะดวกกับการใช้ยึดเกาะสำหรับทุกชิ้นงาน การทำงานด้านอุตสาหการจำเป็นต้องพิจารณาถึงประสิทธิภาพการใช้งานร่วมด้วย ตัวอย่างข้อจำกัดของอุปกรณ์ช่วยยกแบบมาตรฐาน
- ไม่เหมาะยึดเกาะกับบางชิ้นงาน
- ส่งผลให้บางลักษณะงาน ขั้นตอนมากเกิดความล่าช้า เกิดการรอคอย (delay or idle time) ในกระบวนการทำงาน
- ใช้คนทำงานมากเกินความจำเป็น
- มีภาวะเสี่ยงกับผู้ยึดเกาะวัสดุที่ต้องเข้าไปทำงานในพื้นที่จัดเก็บวัสดุ
- เหตุผลอื่นๆ ในการกำกับดูแลด้านความปลอดภัย ฯลฯ
ดังนั้นอุปกรณ์ช่วยยกจึงถูกพัฒนาขึ้น เพื่อแก้ปัญหาต่างๆเหล่านี้
3. อุปกรณ์ช่วยยกที่ถูกต้องและพร้อมใช้งาน
อุปกรณ์ช่วยยกที่ถูกต้องตามหลักวิศวกรรมความปลอดภัย ถูกต้องตามกฎหมายและถูกต้องตามหลักปฏิบัติสากลและมีความพร้อมใช้งาน ต้องประกอบด้วย 3 เงื่อนไข
- นำเข้ามาใช้ในสถานประกอบกิจการตามหลักเกณฑ์พร้อมใบรับรอง Certificate
- ผ่านการตรวจสภาพตามระยะเวลา (Inspection Interval)
- ผ่านการตรวจสภาพก่อนใช้งานประจำวันโดยผู้ใช้ (Daily Inspection)
เพื่อให้เข้าใจรายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์มากขึ้น หลังจากนี้จะขยายความ ๒ ส่วนเพิ่มเติมคือ การตรวจสภาพตามระยะเวลา (inspection interval) และวิธีตรวจสภาพก่อนใช้งานประจำวันโดยผู้ใช้ (daily inspection)
3.1 การตรวจสภาพอุปกรณ์ช่วยยกตามระยะเวลา (Inspection Interval)
กฎหมายและมาตรฐานสากล ไม่พบว่าเอกสารฉบับใดระบุความถี่ในการตรวจสภาพอุปกรณ์ช่วยยกชัดเจน จึงพบแต่เพียงองค์กรเครือข่ายธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีสายวิชาการประจำองค์กร จัดทำขึ้นซึ่งข้อมูลเหล่านั้นมาจากการศึกษา เก็บข้อมูลและจัดทำเป็นเอกสาร lifting Equipment, The Code of Practice เท่านั้น โดยภาพรวมของการตรวจสภาพอุปกรณ์ช่วยยกตามระยะเวลา จึงให้ขึ้นอยู่กับหน่วยงานเป็นผู้กำหนด ทั้งนี้ให้พิจารณาจากความถี่ในการใช้งานเป็นเกณฑ์
ตัวอย่างเอกสารจากภาคอุตสาหกรรมในออสเตรเลีย
3.2 การตรวจสภาพอุปกรณ์ช่วยยกก่อนใช้งานประจำวัน (Daily Inspection)
เพื่อต้องการให้อุปกรณ์ช่วยยกถูกตรวจสภาพด้วยตาเปล่า (Visual Check or Visual Inspection) ก่อนใช้งานประจำวันโดยผู้ใช้
Reference :
Sangtakieng, 2020. lifting equipment operations-introduction & general knowledge. [online] Available at: <http://www.sangtakieng.com/LiftingEqipmetOperation1.html> [Accessed 1 August 2020]